logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ชีววิทยา
  • เหตุใดความสูงของคนเราจึงลดลงตามอายุ?

เหตุใดความสูงของคนเราจึงลดลงตามอายุ?

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันอังคาร, 10 พฤศจิกายน 2563
Hits
2687

          สายตายาว หูตึง ขี้หลงขี้ลืม กระดูกพรุน ไขข้อเสื่อม ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิวหนัง และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย ล้วนเป็นสัญญาณของความชราที่เห็นได้ชัด ในขณะที่การสูญเสียความสูงก็เป็นลักษณะอย่างหนึ่งที่อาจเป็นปัญหาสุขภาพที่เปลี่ยนไปตามอายุ การทำความเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายเมื่ออายุมากขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สามารถรับมือกับผลกระทบเชิงลบของปัจจัยเรื่องอายุได้

11482 1

ภาพการลดลงของความสูงเป็นหนึ่งในสัญญาณของความแก่ชรา
ที่มา https://pixabay.com/images/id-2814935/, geralt

          หนึ่งสาเหตุที่อาจทำให้ผู้คนที่อยู่ในวัยชราดูเตี้ยลงอาจเกิดจากภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) คือ ภาวะของการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ (muscle mass) มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยทุก ๆ 10 ปี จะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อในอัตรา 3-5 % สิ่งที่น่ากังวลเป็นพิเศษก็คือ กล้ามเนื้อส่วนของลำตัวซึ่งทำหน้าที่หลักในการช่วยพยุงร่างกายให้ตั้งตรงและรักษาท่าทาง แต่เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อเหล่านั้นจะสูญเสียความสามารถ เป็นผลให้ลำตัวงอและสั้นลง  หรืออีกหนึ่งสาเหตุก็คือ สุขภาพของกระดูก โดยกระดูกเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ที่สามารถปรับขนาดและรูปร่างเพื่อตอบสนองต่อกลไกต่าง ๆ ของร่างกายได้

          ในช่วงวัยรุ่น ร่างกายมีการเจริญเติบโตโดยจะมีมวลกระดูกถูกสะสม 90% ของความหนาแน่นกระดูกสูงสุด (peak bone mass) และจะสะสมสูงสุดในช่วงอายุระหว่าง 30-35 ปี แต่หลังจากนั้นในช่วงอายุประมาณ 35 - 40 ปี ปริมาณมวลกระดูกจะเริ่มลดลง จนในที่สุดทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ซึ่งเป็นภาวะที่มีมวลกระดูกต่ำและกระดูกมีความเปราะบางมากขึ้น  โดยบริเวณที่พบภาวะกระดูกพรุนได้บ่อยจะเป็นบริเวณสะโพก (hips) และปลายแขน (forearms) แต่ที่พบได้บ่อยที่สุดที่กระดูกสันหลังที่อยู่ในแนวกึ่งกลางด้านหลังของลำตัว (spine) ซึ่งมีผลกระทบต่อความสูง

          หมอนรองกระดูกสันหลัง (vertebral discs) อยู่บริเวณกระดูกสันหลังแนวลำตัว ทำหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาท่าทาง ซึ่งเป็นแผ่นคล้ายเจลอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังและทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทก ช่วยให้เกิดความยืดหยุ่น ซึ่งในผู้ที่ยังอายุน้อย หมอนรองกระดูกจะมีองค์ประกอบของน้ำเป็นส่วนสำคัญ จึงมีความแข็งแรงและอ่อนนุ่ม แต่เมื่อมีอายุมากขึ้น เปอร์เซ็นต์ของน้ำในหมอนรองกระดูกสันหลังก็จะลดลง และจะค่อยๆ บีบอัดและแบน มีความยืดหยุ่นน้อยลง เป็นผลให้คนอายุมากมีความสูงลดลงกว่าเดิมเล็กน้อย ส่วนใหญ่แล้ว ความสูงเป็นกรรมพันธุ์ที่ถ่ายทอดจากพ่อและแม่ แต่ก็มีปัจจัยบางอย่างที่สามารถปฏิบัติเพื่อรักษาความสูงได้ และที่สำคัญกว่านั้นคือ ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตเมื่อมีอายุมากขึ้น

          การออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก (Weight-bearing exercise) เป็นสิ่งที่ดีสำหรับการสร้างกระดูก โดยการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การพัฒนากระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่ในช่วงวัยรุ่น (เมื่อมีการสร้างมวลกระดูกสูงสุด) จะส่งผลระยะยาวเมื่ออายุมากขึ้น และการออกกำลังกายชนิดนี้ส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและยังมีศักยภาพในการป้องกันโรคกระดูกพรุน และโรคสะเก็ดเงินได้ด้วย

          ในขณะที่การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพก็เป็นสิ่งจำเป็น โดยทั่วไปแล้ว อาหารที่มีวิตามินดีและแคลเซียมสูง รวมถึงอัลมอนด์ บร็อคโคลี่ และคะน้า มีส่วนช่วยในเรื่องของสุขภาพของกระดูก นอกจากนี้การไม่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดจนจำกัดการบริโภคคาเฟอีน เป็นพฤติกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพเช่นกัน

          ความสูงที่ลดลงเป็นเรื่องปกติในผู้ที่มีอายุมากขึ้น แต่ก็สามารถชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของปัญหาสุขภาพที่รุนแรงได้ ดังนั้นการออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นการเพิ่มความมั่นใจว่า คุณจะมีสุขภาพกระดูกที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว

แหล่งที่มา

Thomas Scioscia, (2017, August 24), Spinal Discs. Retrieved April 4, 2020, From https://www.spine-health.com/conditions/spine-anatomy/spinal-discs

Adam Hawkey, (2020, March 10), Why you get shorter as you age. Retrieved April 4, 2020, From https://theconversation.com/why-you-get-shorter-as-you-age-132826

การจัดการภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2563. จาก www.klanghospital.go.th/attachments/1194_การจัดการภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ%20หน้า13-16.pdf

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ความสูง, การสูญเสียความสูง, กระดูก ,การเตี้ยลง,สุขภาพของกระดูก
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 04 เมษายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นางสาวพรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11482 เหตุใดความสูงของคนเราจึงลดลงตามอายุ? /article-biology/item/11482-2020-04-21-07-38-30
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
วิทยาศาสตร์พิสูจน์ การเลิกกินของที่ทำให้อ้วนนั้นยาก
วิทยาศาสตร์พิสูจน์ การเลิกกินของที่ทำให้...
Hits ฮิต (14966)
ให้คะแนน
การรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงนั้นทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกเห ...
คลายเครียดแก้ปัญหาสติแตกเมื่อน้ำท่วม
คลายเครียดแก้ปัญหาสติแตกเมื่อน้ำท่วม
Hits ฮิต (14324)
ให้คะแนน
ภาวะน้ำท่วมเกาะกินทำร้ายจิตใจของคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย มากบ้างน้อยบ้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่อย่างไ ...
พายุฝนสู่อุทกภัยน้ำท่วมในประเทศไทย
พายุฝนสู่อุทกภัยน้ำท่วมในประเทศไทย
Hits ฮิต (8582)
ให้คะแนน
ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา หลายคนคงได้รับฟังข่าวภัยพิบัติน้ำท่วมหนักในเขตภาคอีสาน ซึ่งนั้นก็เป็นเพร ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)